แผนพัฒนา 3 ปี
ลักษณะของแผนพัฒนา 3 ปี
30 พฤศจิกายน 544

335


          แผนพัฒนา 3 ปี  เป็นการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การปฏิบัติโดยมีหลักคิดที่ว่า  ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาหนึ่ง ๆ  จะมีแนวทางการพัฒนามากกว่าหนึ่งแนวทาง  และภายใต้แนวทางการพัฒนาหนึ่งจะมีโครงการ/กิจกรรมได้มากกว่าหนึ่งโครงการ/กิจกรรมที่จะต้องนำมาดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการ  ในแต่ละยุทธศาสตร์การพัฒนาซึ่งจะมีผลต่อวัตถุประสงค์  เป้าหมาย  จุดมุ่งหมาย  การพัฒนาอย่างยั่งยืน  และวิสัยทัศน์ในที่สุด

นอกจากนั้น  แผนพัฒนา 3 ปี  เป็นแผนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี  กล่าวคือ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ใช้การวางแผนพัฒนาเป็นเครื่องมือในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี  โดยนำโครงการ/กิจกรรมจากแผนพัฒนาสามปีในปีที่จะจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี  ไปจัดทำงบประมาณเพื่อให้กระบวนการจัดทำงบประมาณเป็นไปด้วยความรอบคอบและผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

                                                             

                                                              

วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี

1. เพื่อแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงและสอดคล้องกันระหว่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา  และการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี

2. เพื่อแสดงแนวทางการพัฒนาแผนพัฒนาสามปีที่มีความสอดคล้องและสามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของการพัฒนาในห้วงระยะเวลา 3 ปี

3. เพื่อเป็นการจัดเตรียมโครงการพัฒนาต่าง ๆ  ให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมจะบรรจุในเอกสารงบประมาณประจำปี  และนำไปปฏิบัติได้ทันทีเมื่อได้รับงบประมาณ

 

ขั้นตอนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
30 พฤศจิกายน 544

310


      หลังจากที่ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาในแผนยุทธศาสตร์แล้วก็จะต้องถึงขั้นตอนในการแปลงสู่การปฏิบัติโดยการจัดทำแผนพัฒนาสามปี  ซึ่งได้กำหนดขั้นตอนการจัดทำเป็นแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปดำเนินการ  7  ขั้นตอน  ดังนี้

 

ขั้นตอนที่  1  การเตรียมการจัดทำแผน

1.   หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดทำแผนพัฒนาควรเข้าพบผู้บริหารท้องถิ่น  เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ความสำคัญและความจำเป็นในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี  เพื่อให้ผู้บริหารทราบถึงภารกิจที่จะต้องดำเนินการต่อไป  และดำเนินการเสนอโครงการจัดทำแผนพัฒนาสามปี  ห้วงปี  .. 2555 – พ.ศ. 2557  ผ่านปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติ  โครงการดังกล่าวจะเป็นการกำหนดทรัพยากรในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี  และกำหนดปฏิทินการทำงานไว้อย่างชัดเจน

2.   หน่วยงานที่รับผิดชอบ  แจ้งโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ  ได้แก่  คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น  คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น  หน่วยงานภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และประชาคม

 

ขั้นตอนที่  2  การคัดเลือกยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา

                   1.   ในขั้นตอนนี้ คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนา  จะสรุปยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา  พร้อมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  ปัญหาความต้องการของท้องถิ่นรวมทั้งสรุปยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด/อำเภอ  และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น  เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น

2.   คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น  จัดการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นประชาคมท้องถิ่นและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  เพื่อร่วมกันพิจารณาโดยในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีในครั้งแรก  ให้เวทีการประชุมร่วมกันดังกล่าว  คัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนา  แนวทางการพัฒนาที่สมควรนำมาใช้เป็นแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาสามปี  เพื่อเป็นกรอบในการพิจารณาจัดทำโครงการ/กิจกรรมในแผนพัฒนาสามปีแต่สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาสามปีครั้งต่อไป(เมื่อครบรอบหนึ่งปี)  ให้เวทีการประชุมร่วมพิจารณาทบทวนดูว่าจากยุทธศาสตร์ แนวทางการพัฒนาที่ได้คัดเลือกและโครงการ/กิจกรรม  ที่กำหนดไว้ยังมีความเหมาะสมหรือไม่ซึ่งในขั้นตอนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีในปีต่อไปจะสามารถคัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนา  แนวทางการพัฒนาที่จะนำมาใช้เป็นกรอบการจัดทำแผนพัฒนาสามปีก็ได้รวมทั้งกำหนดโครงการ/กิจกรรม  ที่จะเพิ่มเติมหรือตัดทอนลงได้

3.   เมื่อได้วางแนวทางการพัฒนาแล้ว  เวทีการประชุมร่วมพิจารณาว่าจะมีโครงการ/กิจกรรมอะไรบ้างที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแนวทางการพัฒนาที่คัดเลือกมาใช้เป็นกรอบในการพัฒนา

4.   โครงการ/กิจกรรมที่พิจารณากำหนดอาจมีเป็นจำนวนมากดังนั้นในขั้นตอนนี้จะต้องมีการดำเนินการดังนี้

(1)     พิจารณาความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างยุทธศาสตร์หรือระหว่างแนวทางการพัฒนาเช่นใน  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก  ได้กำหนด  แนวทางการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์  โดยเวทีการประชุมร่วมได้กำหนด  โครงการพัฒนาด้านการตลาด ฯ  ซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์กับ  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว  ซึ่งได้กำหนด  แนวทางการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์  ศิลป  วัฒนธรรม  โดยได้กำหนด  โครงการปรับปรุง  สถานที่ประวัติศาสตร์ปราสาทเก่า  หากพิจารณาแล้ว  จะเห็นว่าโครงการทั้งสองที่มาจากยุทธศาสตร์การพัฒนาคนละยุทธศาสตร์กันแต่มีความเชื่อมโยงและสนับสนุนกันได้ในเชิงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนโดยการนำผลิตภัณฑ์มาขายให้นักท่องเที่ยวซึ่งหากกำหนดในแผนพัฒนาสามปีแล้ว  จะต้องกำหนดห้วงเวลาการดำเนินงานที่สอดรับกัน

(2)     ให้พิจารณานำโครงการ/กิจกรรมจากแผนชุมชนที่เกินขีดความสามารถในการดำเนินการของชุมชนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามาประกอบการจัดทำแผนพัฒนาสามปี

(3)     มีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ/กิจกรรม  เพื่อที่จะบรรจุลงในแผนพัฒนาสามปีได้อย่างเหมาะสม  และนอกจากนั้นยังเป็นการจัดลำดับโครงการไว้เพื่อทำแผนพัฒนาสามปีในช่วงถัดไปด้วยเนื่องจากในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์การพัฒนา  อาจจะต้องใช้เวลาต่อเนื่องนานกว่าสามปี  ดังนั้น  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องพิจารณาแนวทางการจัดทำโครงการ/ กิจกรรมที่ต่อเนื่องไปในระยะยาวด้วย  ซึ่งอาจจะยังไม่สามารถระบุไว้ในช่วงสามปีของการจัดทำแผนพัฒนาสามปีได้

(4)     เนื่องจากกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการมีความหลากหลาย  ดังนั้น  ในขั้นของการพิจารณากำหนดกิจกรรม  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้

-   งบประมาณรายรับ  รายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

-   ทรัพยากรการบริหารอื่น ๆ  ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

-   ภาคีการพัฒนาที่สามารถเข้ามาร่วมดำเนินการ  หรือมีภารกิจรับผิดชอบการดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ

          เมื่อพิจารณาด้านต่าง ๆ  ดังกล่าวแล้ว  จะต้องแยกประเภทของโครงการออก  อย่างน้อยสามประเภทคือ

-   โครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการเอง  กล่าวคือมีขีดความสามารถทั้งทางด้านกำลังเงิน  กำลังคน  วัสดุอุปกรณ์  และความรู้ทางด้านการบริหารจัดการที่จะดำเนินการได้เอง

-   โครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอุดหนุนให้หน่วยงานอื่นดำเนินการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน  เนื่องจากเป็นงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่  แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถหรือไม่ประสงค์จะดำเนินการ  จึงมอบให้หน่วยงานอื่นดำเนินการแทนโดยการตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนให้ตามระเบียบวิธีการของทางราชการ

-   โครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น  ทั้งราชการบริหารส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค  รัฐวิสาหกิจ  หน่วยงานอื่น  และภาคเอกชน  อันเนื่องมาจากเป็นโครงการขนาดใหญ่  หรือเป็นโครงการที่หน่วยงานดังกล่าวเป็นหน่วยปฏิบัติและมีหน้าที่จัดบริการสาธารณะดังกล่าวอยู่แล้ว  ทั้งนี้รวมถึงโครงการเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ  (ซึ่งมีกรอบในการพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนอยู่แล้ว  โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะเสนอขอรับการสนับสนุนต้องอยู่ในเงื่อนไขของการขอรับเงิน  อุดหนุนเฉพาะกิจดังกล่าว)

ขั้นตอนที่  3  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

1.   การเก็บรวบรวมข้อมูล

คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น  ดำเนินการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการจัดทำแผนพัฒนาสามปี  ซึ่งนอกจากจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทั่วไปแล้ว  ยังจะต้องวิเคราะห์ว่ายุทธศาสตร์การพัฒนา  แนวทางการพัฒนาที่เลือก  ต้องการข้อมูลประเภทใดเป็นพิเศษต้องการข้อมูลของห้วงเวลาใด  และจะเก็บข้อมูลจากแหล่งใด  เพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์  แนวทางการพัฒนา  โครงการ/กิจกรรม  ได้อย่างถูกต้อง  โดยมีการเก็บ  รวบรวมข้อมูลจะต้องเก็บข้อมูลทั้งข้อมูลภายในองค์กรและข้อมูลภายนอก  เพื่อสามารถนำมาวิเคราะห์  SWOT  (การวิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส  และอุปสรรค)  ได้

2.   การวิเคราะห์ข้อมูล

ประกอบด้วย  4  กิจกรรมหลัก  คือ

1. การประเมินผลการพัฒนาที่ผ่านมา

2. การคัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนา

3. การจัดลำดับความสำคัญของแนวทางการพัฒนา

4. การตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาในห้วงสามปี

โดยมีรายละเอียดในแต่ละกิจกรรม  ดังนี้

1.   การประเมินผลการพัฒนาที่ผ่านมา

คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น  สรุปผลการพัฒนาที่ผ่านมาและนำเสนอที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น  ประชาคมท้องถิ่น  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินผลการพัฒนาท้องถิ่นในรอบปีที่ผ่านมา  โดยประเมินทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพ  (สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล  ควรจัดให้มีการประชุมประชาคมหมู่บ้านด้วย)

 

2.   การคัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนา

หลังจากการประเมินผลการพัฒนาในรอบปีที่ผ่านมาแล้ว  ให้ที่ประชุมตาม  ข้อ  1  ร่วมกันคัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา รวมทั้งสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของประชาคม/  ชุมชนในห้วงระยะเวลาสามปี  (ในกรณีดังกล่าวอาจคัดเลือกทุกยุทธศาสตร์การพัฒนามาเป็นกรอบในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีก็ได้)

ในกรณีที่เห็นว่ามียุทธศาสตร์การพัฒนาใดที่ยังมิได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา  แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกำหนดขึ้นใหม่  ก็อาจกำหนดขึ้นได้  แต่ทั้งนี้ต้องแสดงให้เห็นถึงเหตุผลและวัตถุประสงค์ที่มีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนและวิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น  (และนำไปปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาต่อไป)

3.   การจัดลำดับความสำคัญของแนวทางการพัฒนา

ภายใต้ยุทธศาสตร์  จะมีแนวทางการพัฒนาที่หลากหลาย  ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความจำเป็นในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์การพัฒนาทั้งสิ้นแต่มีความสำคัญ  ความจำเป็นเร่งด่วนมากน้อยแตกต่างกัน  ที่ประชุมตามข้อ  1  จะต้องร่วมกันจัดเรียงลำดับความสำคัญของแนวทางการพัฒนา  การลำดับความสำคัญดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าแนวทางการพัฒนาที่ถูกจัดลำดับความสำคัญอยู่ในลำดับหลัง ๆ  จะไม่ต้องนำมาปฏิบัติ  เพราะการที่จะกำหนดแนวทางการพัฒนาทุกแนวทางที่จำเป็นต้องนำมาเน้นการปฏิบัติ

วิธีการจัดลำดับความสำคัญ  มีหลายวิธี  ตั้งแต่วิธีง่ายๆ  คือ  ประชุมตกลงกัน  หรืออาจใช้วิธีการลงคะแนนคัดเลือกโดยใช้บัตรลงคะแนน  เพื่อนำมารวมคะแนนและจัดลำดับความสำคัญที่เป็นวิทยาศาสตร์อาจใช้วิธี  Rating  Scale  หรือวิธี  Strategic  Issues  Graph  หรือวิธีอื่น ๆ  ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งสามารถเลือกวิธีการปฏิบัติได้ตามความเหมาะสม

4.      การตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาในห้วงสามปี

หลังจากจัดลำดับแนวทางการพัฒนาแล้ว  ที่ประชุมจะตัดสินใจว่าจะนำแนวทางการพัฒนาเหล่านั้นมาดำเนินการ  แต่ในการตัดสินใจเลือกนั้น  ควรจะได้วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ  เพราะในการจัดลำดับความสำคัญอาจใช้การตัดสินของแต่ละบุคคลเป็นหลัก  ดังนั้น  เพื่อทบทวนและยืนยันการจัดลำดับว่ามีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติจริงหรือไม่   จึงควรนำแนวทางการพัฒนามาทำการวิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส  และอุปสรรค  (SWOT  Analysis)  อีกครั้ง

 

ขั้นตอนที่  4  การกำหนดวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนา

1.   หลังจากได้แนวทางการพัฒนาในช่วงสามปีแล้ว  ให้ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาคัดเลือกวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์การพัฒนามาจัดทำเป็นวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนา  โดยพิจารณาคัดเลือกวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์การพัฒนาจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา  ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปีโดยนำวัตถุประสงค์ดังกล่าวมาจัดทำเป็นวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี

บางครั้ง  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  อาจกำหนดวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนาตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นแล้ว  แต่อาจนำมาปรับให้ชัดเจนและสอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงสามปี

2.   ในขั้นตอนนี้ ที่ประชุมจะร่วมกันพิจารณากำหนดโครงการ/กิจกรรม  การพัฒนา  ที่จะต้องดำเนินการตามแนวทางที่คัดเลือก  และโดยที่กิจกรรมที่จะดำเนินการย่อมมีความหลากหลาย  ซึ่งที่ประชุมจะต้องพิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้ด้วยคือ

(1)     พิจารณากิจกรรมที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนาที่กำหนดอย่างรอบคอบ  เพื่อให้ได้โครงการ/กิจกรรมที่ครบถ้วน  ซึ่งอาจมีทั้งโครงการ/กิจกรรมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการเอง  โครงการ/กิจกรรมที่ร่วมดำเนินการกับหน่วยงานอื่น  หรือโครงการ/กิจกรรมที่หน่วยงานอื่นเป็นผู้ดำเนินการ

(2)     พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการ/กิจกรรมควรพิจารณาทั้งภายใต้แนวทางเดียวกันและระหว่างแนวทางการพัฒนา

(3)     พิจารณาถึงความเชื่อมโยงของกิจกรรมทั้งในด้านกระบวนการดำเนินงาน  และในด้านของผลการดำเนินการ  เพื่อบรรจุกิจกรรมลงในปีต่าง ๆ  ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

(4)     พิจารณาคัดเลือกโครงการ/กิจกรรม

ก.   จากความจำเป็นเร่งด่วน

ข.   ขีดความสามารถทางทรัพยากรการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ค.   ความเชื่อมโยงของกิจกรรม  และระยะเวลาที่จะดำเนินการ

ขั้นตอนที่  5  การจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมการพัฒนา

คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นพิจารณาคัดเลือกโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี  มาจัดทำรายละเอียดโครงการ  ในด้านเป้าหมาย  ผลผลิต  งบประมาณ  ระยะเวลา  ผู้รับผิดชอบ  และตัวชี้วัดความสำเร็จ  โดยเน้นการศึกษารายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในปีแรกของแผนพัฒนาสามปี  เพื่อให้สามารถนำไปจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ต่อไป

ขั้นตอนที่  6  การจัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี

1.   คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นจัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี  โดยทีเค้าโครงประกอบด้วย  7  ส่วนดังนี้

2.   คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น  จัดเวทีประชาคม  ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น  ประชาคมท้องถิ่น  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อเสนอร่างแผนพัฒนาสามปี  และรับฟังความคิดเห็น  ข้อเสนอแนะ  แล้วนำไปปรับปรุงแผนพัฒนาสามปีให้สมบูรณ์ต่อไป

3.   คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นนำร่างแผนพัฒนาสามปีที่ปรับปรุงแล้วเสนอคณะกรรมการการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อพิจารณา

ขั้นตอนที่  7  การอนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี

1.   คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นเสนอร่างแผนพัฒนาสามปีที่ผ่านการพิจารณาให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นหรือเสนอคณะอนุกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอในกรณีที่มีการมอบอำนาจ  เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยมีกระบวนการเช่นเดียวกับขั้นตอนที่  9  ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

2.   ผู้บริหารท้องถิ่นนำร่างแผนพัฒนาสามปีที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น  หรือคณะอนุกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอในกรณีที่มีการมอบอำนาจเสนอขอรับอนุมัติจากสภาท้องถิ่น

3.   เมื่อสภาท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติแผนพัฒนาสามปี แล้วสภาท้องถิ่นจะส่งให้ผู้บริหารท้องถิ่นประกาศใช้แผนพัฒนาสามปีและนำไปปฏิบัติรวมทั้งแจ้งสภาท้องถิ่นคณะกรรมการพัฒนาจังหวัด คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น  คณะอนุกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งประกาศให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบโดยทั่วกัน

 

 

 

 

                                                

                                                                            

                                                                     นายวิทยา  อินทร์คง

                                                          นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพะงัน

                                                           วันที่  19  เดือน  กรกฎาคม  พ.ศ.  2554

บัญชีสรุปโครงการพัฒนา ปี 2555
30 พฤศจิกายน 544

278


บัญชีสรุปโครงการพัฒนา ปี 2555 รายละเอียด คลิกที่นี่

บัญชีสรุปโครงการพัฒนา ปี 2556
30 พฤศจิกายน 544

306


บัญชีสรุปโครงการพัฒนา ปี 2556 รายละเอียด คลิกที่นี่

การนำแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติและการติดตามและประเมินผล
30 พฤศจิกายน 544

266


การนำแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติและการติดตามและประเมินผล รายละเอียด คลิกที่นี่

แผนพัฒนาสามปี 2556-2558
30 พฤศจิกายน 544

282


 

แผนพัฒนาสามปี 2556-2558

• ประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘)    >> คลิ๊กดูรายละเอียดได้ที่นี้ <<

• คำนำ                                                                                   >> คลิ๊กดูรายละเอียดได้ที่นี้ <<
• สารบัญ                                                                               >> คลิ๊กดูรายละเอียดได้ที่นี้ <<
• ส่วนที่ 1 บทนำ                                                                    >> คลิ๊กดูรายละเอียดได้ที่นี้ <<

• ส่วนที่ 2 สภาพทั่วไป                                                          >> คลิ๊กดูรายละเอียดได้ที่นี้ <<

ส่วนที่ 3 ผลการพัฒนาท้องถิ่น                                         >> คลิ๊กดูรายละเอียดได้ที่นี้ <<

• ส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา                  >> คลิ๊กดูรายละเอียดได้ที่นี้ <<

ส่วนที่ 5 สภาอนุมัติ                                                            >> คลิ๊กดูรายละเอียดได้ที่นี้ <<

ส่วนที่ 6 การนำแผนพัฒนาไปปฏิบัติ                               >> คลิ๊กดูรายละเอียดได้ที่นี้ <<

• บัญชีสรุปโครงการ                                                             >> คลิ๊กดูรายละเอียดได้ที่นี้ <<

 

แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2557 - 2559 )
30 พฤศจิกายน 544

289


 

ประชาสัมพันธ์แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2557 - 2559 )  (คลิกที่นี่เพือดาวน์โหลดเอกสาร)

แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2558-2560)
30 พฤศจิกายน 544

285


 

ประชาสัมพันธ์ แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2558-2560) คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดเอกสารแนบประกาศ

แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2559 - 2561)
30 พฤศจิกายน 544

306


ประชาชัมพันธ์  แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2559 - 2561)  <คลิกที่นี้เพื่อดาวน์โหลดเอกสารแนบประกาศ>

แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559-2561) การเพิ่มเติม และการเปลี่ยนแปลง ฉบับที่ 1/2558
30 พฤศจิกายน 544

291


ประชาชัมพันธ์ แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559-2561) การเพอ่มเติม และการเปลี่ยนแปลง ฉบับที่ 1/2558
<คลิกที่นี้เพื่อดาวน์โหลดเอกสารแนบประกาศ>

แผนพัฒนาสามปี(พ.ศ.2560-2562)เทศบาลตำบลเพชรพะงัน
30 พฤศจิกายน 544

396


แผนพัฒนาสามปี(พ.ศ.2560-2562)เทศบาลตำบลเพชรพะงัน

<คลิกที่นี้เพื่อดาวน์โหลดเอกสารแนบประกาศ>